ต้องถามนักการตลาดว่าคุณเจอลูกค้าตัวเป็นๆ บ่อยแค่ไหน เพราะว่าลูกค้าจะเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี ที่ทำให้เห็นว่า สินค้าและบริการของเราจะพัฒนาต่อไปได้อย่างไรบ้าง ด้วยการเข้าใจ insight หมายถึงความพฤติกรรมและความนึกคิดที่มีต่อสินค้าของเราใน เพื่อหาไอเดียใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด
ดังนั้นเวลาทำแผนการตลาด หรือ Brand Plan อย่านั่ง brainstorm กันใน office สิ่งที่คุณต้องมีคือ การเข้าใจลูกค้า เพื่อหาไอเดียไปทำงานต่อในทิศทางที่ถูกต้อง
การมองคู่แข่งเป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องสังเกตว่าถ้าลูกค้าไม่ซื้อเราลูกค้าซื้ออะไร และการมองคู่แข่ง แต่ต้องมองให้เป็นด้วย เรามองเพื่อเรียนรู้ว่าเขาทำอะไรบ้าง น่าสนใจหรือไม่น่าสนใจอย่างไร ไม่ได้มองเพื่อเลียนแบบ แต่มองเพื่อเข้าใจเขา แล้วพัฒนาให้ดีกว่า แตกต่างกว่า
แต่แบรนด์ที่เป็นผู้นำ ต้องหาวิธีที่เรียนรู้แล้วปรับใช้โดยสร้างความแตกต่าง ในขณะที่แบรนด์ที่เป็นผู้ตามจะทำตามหรือลอกอย่างเดียวอันนี้ไม่ได้
บางครั้งหากคุณมองแต่อุตสาหกรรมของตนเอง มุมมองนี้ก็เป็นกับดักของความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน เพราะว่าเราจะไม่มีทางได้คิดสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นในวงการ เพราะถ้าเรารอให้วงการเรามีขึ้นมาก่อน แล้วเราค่อยทำ แสดงว่ามันไม่ใช่สิ่งใหม่ คนที่อยากเป็นที่หนึ่งต้องริเริ่มทำสิ่งใหม่คนแรก ไม่ใช่ทำตามคู่แข่งขัน ดังนั้นการมองธุรกิจอื่นๆคือการแรงบันดาลใจใหม่ๆที่ดีมากเลย
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากได้ลูกค้าในระดับบน ที่มีกำลังซื้อ ให้เริ่มจากลองสังเกตดูนอกวงการ ว่าแบรนด์ไหนที่เขาทำได้ดีบ้างในการเจาะกลุ่มลูกค้านี้แล้วเขาทำอย่างไร มาศึกษาวิเคราะห์ แกะข้อเรียนรู้ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณดู คุณจะเห็นแรงไอเดียใหม่ๆมากมาย
นักการตลาดต้องมีนิสัยที่ไม่หยุดเรียนรู้ คุณจงหิวที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆตลอดเวลา จงทำให้การเรียนรู้เป็น “อุปนิสัย” ไม่ใช่เรียนรู้เฉพาะตอนอบรมหรือสัมมนา นั้นคือแบบ “ชั่วคราว” ซึ่งไม่เพียงพอในยุคนี้ ที่โลกหมุนไวมาก
เทคนิคในการสร้างอุปนิสัยของการเรียนรู้คือ
เราเชื่อว่าชีวิตคนจะเป็นแบบไหน ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ สิ่งที่คุณเห็น คุณเจอทุกวัน จะมีผลกับชีวิตของคุณมากๆ
การมีความรู้หรือมุมมองใหม่ๆคือสิ่งสำคัญมากในยุคนี้ จงนำพาตัวคุณไปเจอคนที่เก่งๆ คนที่ลงมือทำจริง เคยเจ็บมากจริง ไม่ใช่แค่นักพูดให้แรงบัลดาลใจ คุณต้องมีโอกาสไปเจอคน ที่เปิดมุมมองใหม่ๆที่คุณไม่เคยเห็นบ้าง
ที่มา : บังอร สุวรรณมงคล