ส่องความท้าทายอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ในยุคที่ธุรกิจต่างๆ ถูก Disruption แทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ขณะที่การปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังก้าวสู่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV car จะเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่มากน้อยแต่ไหน อย่างไร?
สิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นทั่วโลกขณะนี้คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ปรับขึ้น Outperform หุ้นกลุ่มที่ทำธุรกิจแบบดั้งเดิม เนื่องจากเป็นการคาดการณ์ถึงโอกาสที่จะเกิด Disruption ในหลายอุตสาหกรรมและแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ หากพิจารณาเฉพาะบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในไทยที่สนใจลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ ได้แก่ บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ (EA), บริษัทบ้านปู (BANPU) และ กลุ่มบริษัท ปตท (PTT) โดยบริษัทที่เริ่มต้นการเปิดตัวให้ความสนใจในธุรกิจนี้แบบเต็มที่รายแรกในไทยก็คือ EA
ปัจจุบันภาครัฐ ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนสำหรับการผลิตรถยนต์ EV ภายใน 5 ปี (ภายในปี 2568) โดยใช้มาตรการจูงใจด้านสิทธิประโยชน์ในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุน และล่าสุดมี 12 ค่ายรถยนต์ที่ตัดสินใจยื่นขอสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุนแล้ว
อย่างไรก็ดีปัญหาสำคัญว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ในไทยจะประสบความสำเร็จได้เพียงใด ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยอย่าง EA และ BANPU ที่ตัดสินใจมุ่งเข้าหาธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถแท็กซี่, รถเมล์, รถบัสโดยสาร และเรือ เป็นต้น เนื่องจากประเมินว่าจะมีความต้องการใช้แบตเตอรี่ในปริมาณที่มาก และสามารถเริ่มต้นได้เร็วกว่า นอกจากนี้เราประเมินว่า การที่ระบบขนส่งมวลชนใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ จะส่งผลให้ผู้บริโภคและรวมถึงภาครัฐเอง เกิดการยอมรับในการใช้รถยนต์ EV ว่าสามารถใช้งานได้จริง การ Disruption ของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานก็จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น
กลับมาที่ภาพรวมการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เราประเมิน SET index จะผันผวนในช่วงของการรายงานผลการดำเนินงาน 2Q63 (เดือน ก.ค.-ส.ค.) เนื่องจากผลการดำเนินงานจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เต็มไตรมาส และจะทำให้ Trailing PE ของตลาดหุ้นไทย ที่จะเป็นการพิจารณาราคาหุ้นเทียบกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนย้อนหลัง 4 ไตรมาส มีโอกาสปรับตัวขึ้นมาก และทำให้ความน่าสนใจลงทุนลดลงในระยะสั้น
อย่างไรก็ดี การนำอัตราส่วน PE มาใช้พิจารณาการลงทุนนั้น อาจใช้ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ซึ่งเราประเมินว่าสำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยจะเป็นรูปแบบ “V-shape” ดังนั้นการใช้ Trailing PE ในการพิจารณาเพียงวิธีเดียวนั้นอาจจะไม่เหมาะสม
และแม้แต่วิธี Forward PE ที่จะใช้ราคาหุ้นเทียบกับประมาณการกำไรในอนาคตก็อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียง (Bias) ของการประมาณการฯโดยนักวิเคราะห์ขึ้นได้ และเกิดปัญหาว่าจะใช้ฐานกำไรของปีใดในการคำนวณจึงจะเหมาะสม เนื่องจากกำไรปี 2563 คาดว่าจะปรับลงอย่างมากและกำไรปี 2564 คาดว่าฟื้นตัวแรง เราจึงขอนำเสนอวิธีที่เรียกว่า Cyclical Adjusted PE (CAPE) ที่เป็นการคำนวณราคาหุ้นปัจจุบันเทียบค่าเฉลี่ยกำไรของบริษัทจดทะเบียนย้อนหลัง 10 ปี เพื่อเป็นการพิจารณาความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริงของบริษัทจดทะเบียนไทยและตัดปัญหาเรื่องของวัฏจักรเศรษฐกิจออกไป
ที่มา : www.bangkokbiznews.com