การหลีกเลี่ยงอากรศุลกากร
หรือ “การกระทำหลีกเลี่ยงการเสียอากร” หมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหลบหลีกการเสียภาษี และมีเจตนาไม่ชำระภาษีอากรหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าที่พึงต้องชำระ
ตัวอย่าง
จัดทำใบขนส่งสินค้าและผ่านการตรวจหรือผ่านพิธีการศุลกากรตามระเบียบแต่ “ไม่แสดงของนั้นโดยเปิดเผย”
ลักษณะการกระทำ
แยกได้ 2 กรณี
นำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยการขนส่งทางเรือ ทางรถไฟ ทางรถยนต์คนเดินเข้ามา ทางเครื่องบิน ทางไปรษณีย์ ทางท่อขนส่งทางบก ทางสายส่งไฟฟ้าเป็นต้น
ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือย้าย โดยทางเรือ ทางรถไฟ ทางรถยนต์ คนเดินออกไป ทางเครื่องบิน ทางไปรษณีย์ ทางท่อขนส่งทางบกทางสายส่งไฟฟ้า เป็นต้น
รูปแบบการกระทำความผิด
โทษตามกฎหมาย
ผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร ต้องระวางโทษ
“จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ครึ่งเท่า แต่ไม่เกิน 4 เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ”
(พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243)
ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ของซึ่งรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรตามมาตรา 243 ต้องระวางโทษ
“จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ครึ่งเท่า แต่ไม่เกิน 4 เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ”
(พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246)
ความผิดทางอาญา
ตามกฎหมายศุลกากรเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอากรเป็นความผิดที่เปรียบเทียบระงับคดีได้ หมายความว่า
“หากผู้ถูกกล่าวหายินยอมด้วยกับการเปรียบเทียบระงับคดีเมื่อได้ปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแล้วแม้คดีจะมีโทษทั้งจำและปรับ ก็ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา”
เกณฑ์การเปรียบเทียบ
ที่มา : www.dharmniti.co.th