แฟรนไชส์
เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อใช้ในการขยายสาขารูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
แฟรนไชส์เซอร์ = เจ้าของธุรกิจ
แฟรนไชส์ซี = ผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายทางการค้า
ประกอบธุรกิจภายใต้รูปแบบและมาตรฐานของ “แฟรนไชส์เซอร์”
ฟรนไชส์ซีโดยการทำ “สัญญาแฟรนไชส์” เป็นตัวกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่าย
ภาระภาษีของสัญญาแฟรนไชส์
แบ่งภาระภาษีตามประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้
แฟรนไชส์เซอร์
ต้องนำเงินได้หรือค่าตอบแทนที่ได้รับตามสัญญาแฟรนไชส์มารวม คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 20 % ของกำไรสุทธิ
สูตรคำนวณ
รายได้ทางภาษี – รายจ่ายทางภาษี = กำไรสุทธิ
ใช้แฟรนไชส์ได้ ไม่จำกัดเวลา
หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา รอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกิน 10 %
ใช้แฟรนไชส์ได้แต่จำกัดเวลา
หักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา รอบระยะเวลาบัญชีละไม่เกิน 100 % (หารจำนวนปีอายุการใช้ แฟรนไชส์)
ผู้จ่ายเงินได้
มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%ของเงินได้ที่จ่ายตามมาตรา 70 (ประมวลรัษฎากร)
ผู้จ่ายเงินได้
มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของเงินที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส (ประมวลรัษฎากร)
ผู้จ่ายเงินได้
มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 3% ของเงินที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส (ประมวลรัษฎากร)
มีรายได้เกินกว่า1,800,000 / ปี
มีหน้าที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บในอัตรา 7% จาก “แฟรนไชส์ซี” (ผู้รับบริการ)
แฟรนไชส์ซี(ผู้รับบริการ)
มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%ตามมาตรา 83/6 (ประมวลรัษฎากร)
ที่มา : www.dharmniti.co.th