คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้ผู้ประกอบการ SMEs หักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า สำหรับค่าซื้อ หรือจ้างทำ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ (Software) ที่จ่ายให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทำหรือผู้ให้บริการ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs พร้อมปรับเปลี่ยนธุรกิจก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อก้าวทันเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่เศรษฐกิจดิจิทัล) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โปรแกรมที่ใช้ในงานสนับสนุนการผลิต รวมไปถึงโปรแกรมที่ให้บริการในรูปแบบโปรแกรมบริการ (Software as a Service : SaaS) ที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้บริการได้ตามความต้องการใช้งาน โดยทั่วไปโปรแกรมบริการนี้จะถูกจัดเก็บอยู่บนเครื่องแม่ข่าย (Server) ของผู้ให้บริการที่ผู้ใช้บริการ สามารถเรียกใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเป็นโปรแกรมที่จะถูกดาวน์โหลดลงสู่ตัวเครื่องของผู้ใช้บริการโดยผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนด เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดก็จะไม่สามารถเข้าใช้โปรแกรมดังกล่าวได้อีกต่อไป”
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่แพร่กระจายรวดเร็วและรุนแรง เป็นตัวเร่งให้ทั่วโลก ต้องปรับตัวเปลี่ยนพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตสู่ความปกติใหม่ หรือ New Normal มาตรการภาษีข้างต้น จะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ SMEs มีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจการและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อันเป็นการขับเคลื่อน SMEs ให้สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจและเติบโตอยู่รอดได้ โดยเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมในการเกื้อกูลกันระหว่าง SMEs ด้านดิจิทัลและ SMEs ในธุรกิจและอุตสาหกรรมอื่น เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ภายในประเทศ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”
ที่มา : www.moneyandbanking.co.th