การร่วมกันทางธุรกิจมีหลายลักษณะซึ่งอาจมีการนำเงินและเทคโนโลยีมาร่วมกันลงทุน โดยการกำหนดสัดส่วนหุ้นและการจัดสรร ผลประโยชน์ระหว่างกัน มีรูปแบบเหมือนการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ หรือบางลักษณะจะมีการร่วมกันรับงานเพียงอย่างเดียว โดยมีการแบ่งแยกสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งกำไรและขาดทุนอย่างชัดเจน การร่วมกันในทางการค้านั้นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
กิจการค้าร่วม(Consortium)
กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หมายถึง การที่ธุรกิจตั้งแต่ธุรกิจ 2 ธุรกิจขึ้นไปทำสัญญาที่จะร่วมลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกันในทางการค้าหรือหากำไร โดยสิ่งที่นำมาร่วมลงทุนอาจเป็นเงินทุน ที่ดิน อาคาร เทคโนโลยี การผลิต หรือบุคลากร ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้าซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินการอย่างชัดเจน เช่น ผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือดำเนินโครงการใดโครงการหนึ่งร่วมกัน โดยต้องมีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น หน้าที่ความรับผิดชอบ และสิทธิของแต่ละฝ่ายรวมถึงการจัดสรรผลประโยชน์อันเกิดจากการดำเนินการ ทั้งนี้ ในการทำการร่วมค้าจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทกับบริษัท หรือบริษัทกับบุคคลธรรมดา ซึ่งต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ใช้ชื่อว่า "กิจการร่วมค้า"
ประโยชน์ของการร่วมค้า
รายละเอียดของกิจการร่วมค้า
การร่วมค้า หมายถึง การประกอบกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจของบุคคล หรือ กิจการตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยมีการควบคุมร่วมกันตามที่ตกลงในสัญญา การควบคุมร่วมกันก็หมายถึง การที่ผู้ร่วมค้ามีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานของธุรกิจที่ร่วมค้านั้นร่วมกัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆของธุรกิจนั้น การจัดตั้งการร่วมค้าอาจตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย เช่น จัดตั้งในลักษณะห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือ อาจไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ได้ แต่ไม่ว่าการร่วมค้าจะมีรูปแบบใดตามกฎหมาย การจะจัดเป็นการร่วมค้าได้ต้องมีลักษณะที่สำคัญ คือ
มีผู้ร่วมค้าตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ตกลงกันเป็นสัญญา และ
สัญญาดังกล่าวระบุให้ผู้ร่วมค้าทุกรายมีอำนาจในการควบร่วมกัน
คำว่า “ผู้ร่วมค้า” หมายถึง บุคคล หรือ กิจการที่เข้าร่วมในการร่วมค้า และมีอำนาจควบคุมร่วมในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ หรือ การดำเนินงานของการร่วมค้านั้น แต่ถ้าผู้เข้าร่วมรายใดไม่มีอำนาจควบคุมร่วม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 จะถือว่าบุคคลหรือกิจการนั้นเป็นเพียง “ผู้ลงทุน” ไม่ใช่ผู้ร่วมค้า
สำหรับสัญญาร่วมค้านั้นมักเป็นลายลักษณ์อักษร และอาจจะรวมเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับของบริษัท หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ว่าด้วยการค้า ซึ่งข้อกำหนดในสัญญาที่สำคัญก็คือ จะต้องไม่ให้มีผู้ร่วมค้ารายใดรายหนึ่งสามารถควบคุมการดำเนินงานของการร่วมค้าได้โดยเพียงผู้เดียว ในสัญญาร่วมค้าจะต้องกำหนดถึงการให้ความเห็นชอบของผู้ร่วมค้าในการจะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยในบางเรื่องอาจต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ร่วมค้าทุกคนก่อนจึงดำเนินการได้ แต่ในบางเรื่องอาจเพียงต้องการความเห็นชอบจากผู้ร่วมค้าทุกคนก่อนจึงดำเนินการได้ แต่ในบางเรื่องอาจเพียงต้องการความเห็นชอบจากผู้ร่วมค้าส่วนใหญ่เท่านั้นก็สามารถดำเนินการได้ทันที
การร่วมค้านั้น แม้ว่าผู้ร่วมค้าจะมีอำนาจในการควบคุมกิจการได้ แต่ก็เป็นการควบคุมร่วมกับกับผู้ร่วมค้าคนอื่นๆ ไม่ใช่การควบคุมอย่างเต็มที่ ดังนั้นการร่วมค้าจึงมิใช่บริษัทย่อยของผู้ร่วมค้า ผู้ร่วมค้าจึงไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินรวมสำหรับการร่วมค้า
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการร่วมค้าของผู้ร่วมค้านั้นจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการร่วมค้า ซึ่งรูปแบบของกิจการร่วมค้าตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 46 สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
การบันทึกบัญชี หรือการแสดงรายการบัญชีสำหรับ 2 รูปแบบแรกนั้น ไม่ได้มีลักษณะอะไรที่พิเศษไปจากรายการที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการผู้ร่วมค้าเอง เฉพาะการร่วมค้าในแบบที่ 3 เท่านั้น ที่จะมีการบันทึกและการแสดงรายการที่เป็นลักษณะเฉพาะของกิจการร่วมค้า
กิจการค้าร่วม (Consortium) คือ การประกอบธุรกิจที่มีลักษณะของการร่วมกันขององค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป เพื่อดำเนิน กิจการหนึ่งด้วยวัตถุประสงค์ คือเป็นการเข้าร่วมกันเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามแผนธุรกิจ แต่ละฝ่ายจะใช้ความสามารถและความ ชำนาญในการทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้สำเร็จตามโครงการ และมีการแบ่งแยกการทำงานไว้อย่างชัดเจน โดยต่างฝ่ายต่าง ออกใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินเฉพาะของบริษัทตน
สัญญากิจการค้าร่วมเป็นเพียงการลงนามร่วมกันในการทำสัญญากับเจ้าของโครงการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบเฉพาะใน ส่วนของตน ไม่มีการร่วมทุนหรือแบ่งปันผลกำไรหรือขาดทุนระหว่างกัน เมื่องานเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะยุติลงเหมือนกับกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้าไม่มีชื่อเรียกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายรัษฎากร จึงไม่ต้องขอบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี อากร แต่มีการเสียภาษีจากกำไรของแต่ละบริษัทนั่นเอง
ประโยชน์ของกิจการค้าร่วม คือ ผู้ประกอบการจะสามารถคำนวณหรือประเมินความสามารถของตนในการรับงานในแต่ละส่วนได้ และจะรับผิดชอบเฉพาะส่วนงานของตนเองเท่านั้น ตัวอย่างของกิจการค้าร่วมเช่น บริษัท A และบริษัท B ร่วมกันทำสัญญากับ หน่วยงานรัฐ ในการขายและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ชื่อ "กิจการร่วมค้า AB" หรือ "คอนซอร์เตียม AB" ซึ่งบริษัท A รับผิดชอบในการขายอุปกรณ์ ส่วนบริษัท B รับผิดชอบในการติดตั้งระบบ เมื่อปรากฎว่าเกิดความเสียหายจากการพัฒนาระบบจนไม่สามารถใช้งานได้อันมิใช่เกิดจากอุปกรณ์ ดังนั้นบริษัท B จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
Consortium จะมีลักษณะแตกต่างจาก Joint Venture กล่าวคือ สมาชิกของ Consortium นั้นจะมีการแบ่งแยกงานและเงินที่สมาชิกแต่ละคนจะได้รับจากเจ้าของโครงการ จะมีการร่วมกันก็เพียงแต่มาลงนามในสัญญาฉบับเดียวกันที่ทำกับเจ้าของโครงการเท่านั้นเอง โดย Consortium นั้นไม่ได้เป็นหน่วยภาษีแยกต่างหากจากผู้เป็นสมาชิกของ Consortium
จึงกล่าวได้ว่า Consortium นั้น สมาชิกแต่ละคนจะได้รับเงินในส่วนของงานที่ตนทำ จะกำไรหรือขาดทุนก็เป็นเรื่องของตน ไม่มีการไปรวมกับกำไรหรือขาดทุนของสมาชิก Consortium รายอื่น และสมาชิก Consortium แต่ละรายก็จะเสียภาษีโดยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีของตนแยกแต่ละรายไป
ที่มา : www.pattanakit.net