ทำไมแบรนด์ต้อง Call Out? มีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมได้มากแค่ไหน แล้ววิธีไหนบ้างที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมแล้วออกมาเวิร์ก!
ณ วันนี้คงไม่มีใครที่ไม่เห็นว่า การที่ “แบรนด์ลุกขึ้นยืนเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมเคียงข้างลูกค้า” อาจเป็นสิ่งละเลยไม่ได้อีกต่อไป เพราะเป็นประเด็นที่สังคมไทยกำลังให้ความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่
แต่อันที่จริงแล้วในต่างประเทศหลายๆ ที่ การที่แบรนด์เคลื่อนไหวเรื่องสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน เรียกร้องเพื่อผู้หญิง หรือการขับเคลื่อนเพื่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) แทบจะเป็นเรื่องที่ทำกันอย่างปกติมาก ซึ่งอาจเห็นได้จากแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง ไนกี้, ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์, หรือ แอร์บีแอนด์บี เป็นต้น
ขณะเดียวกันในประเทศไทยตอนนี้ที่สถานการณ์บ้านเมืองที่อยู่ในสถานะอันคุกรุ่นอย่างยิ่งจากการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ได้ไม่ดีของรัฐบาล ทำให้ประชาชนแตกออกเป็นหลายเสียง ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และเพิกเฉย ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีแบรนด์หลายแบรนด์เอาตัวเอาลงไปในสนาม “การเคลื่อนไหวทางสังคม” ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพจพี่สาวพาเที่ยวชื่อดัง แบรนด์เครื่องหอมรายหนึ่ง หรือบริการส่งอาหารแบรนด์ดัง ที่เป็นประเด็นในโลกโซเชียลมีเดีย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนดู “ทำไมแบรนด์ต้อง Call Out? มีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมได้มากแค่ไหน แล้ววิธีไหนบ้างที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมแล้วออกมาเวิร์ก!”
จริงอยู่ที่เรื่องราวทางสังคม-การเมืองเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง และมีปัญหาตลอดเวลาทั่วโลก แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความตื่นรู้เรื่องสิทธิของตนเอง ทำให้ผู้คนเลือกที่จะไม่ปิดปากอีกต่อไป และเพียงแค่เสียงของผู้คนธรรมดานั้นอาจไม่เพียงพอต่อการเรียกร้องเรื่องต่างๆ และนี่คือเหตุผลที่คนธรรมดาเชื่อว่าแบรนด์มีส่วนช่วยได้
- แบรนด์มีฐานลูกค้าจำนวนมากและหลากหลายกลุ่มความสนใจ
- แบรนด์มีช่องทางแพลทฟอร์ม โซเชียลมีเดียในการเข้าถึงผู้คน
- แบรนด์ได้รับความคุ้มครองจากสื่อหลายสำนัก หากแบรนด์เคลื่อนไหวประเด็นทางสังคม อาจทำให้ถูกหยิบยกไปทำข่าวได้ ถือเป็นการช่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
- แบรนด์มีงบการเงินในการช่วยสนับสนุนการเคลื่อนไหวได้ ต่างกับคนทั่วไปที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนไหวสังคม ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกินในชีวิตประจำวันของพวกเขา
- ความเป็นแบรนด์ โดยเฉพาะหากเป็นแบรนด์ใหญ่ เมื่อประกาศสิ่งใด ลูกค้าย่อมให้ความเชื่อถือและไว้วางใจในข่าวสาร ซึ่งต่างจากคนธรรมดาทั่วไปพูด
โดยกลุ่มคนที่เชื่อว่าแบรนด์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมคือ “กลุ่มผู้บริโภคที่มีแนวคิดเสรีนิยม” 79% ตามด้วยกลุ่มผู้บริโคที่มีความคิดอนุรักษ์นิยม 67% และกลุ่มผู้บริโคที่มีความคิดเป็นกลาง 65%
- ทำให้กลุ่มลูกค้าได้รู้จักคนที่มีแนวความคิดแบบเดียวกัน
- เมื่อลูกค้าคนละกลุ่มได้พบปะกันอาจเกิดเป็นกลุ่มคอมมูนิตี้ที่ใหญ่ขึ้น
- ลูกค้าได้รู้สิ่งใหม่ๆ จากกลุ่มคนที่ไม่เหมือนกัน
- ช่วยให้คนแต่ละคนเข้าใจมุมมองที่แตกต่างกันจากเรื่องเดียวกันได้
- นอกจากนี้ยังทำให้กลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่อยากสนับสนุนซื้อของด้วยความเต็มใจ เพราะรู้สึกว่าคิดเห็นในประเด็นทางสังคมเหมือนกัน และบางรายอาจใช้จ่ายจำนวนมากเพราะความรู้สึกที่ดีด้วย
ที่มา : www.bangkokbiznews.com