sale@prosoftibiz.com
081-359-7691
,
088-258-3535
Menu
หน้าหลัก
คุณสมบัติ
Work Flow - แผนภาพของระบบ
Sale - ระบบจัดจำหน่าย
Purchase - ระบบจัดซื้อ
Inventory - ระบบสินค้าคงคลัง
Accounting - ระบบบัญชี
Cheque & Bank - ระบบเช็คและเงินฝากธนาคาร
Petty Cash - ระบบเงินสดย่อย
CRM - ระบบบริหารงานขายและลูกค้าสัมพันธ์
Dashboard - กราฟและรายงานวิเคราะห์
Audit and Internal Control
ibiz Mobile - ระบบบริหารงานบนมือถือ
Asset Management - ระบบบริหารจัดการทรัพย์สิน
API Lazada & Shopee
สำหรับธุรกิจ
โซลูชั่นธุรกิจ
สำนักงานบัญชี
ธุรกิจขนส่ง
ราคาและบริการ
ราคาแพ็กเกจ
บริการเสริม
เงื่อนไขการให้บริการ
นโยบายการรักษาข้อมูล
วิธีการชำระเงิน
ข่าวสาร
อบรมสัมมนา
ประกาศข่าวสาร
บทความที่น่าสนใจ
Blog
ลูกค้าของเรา
ช่วยเหลือ
การวางระบบบัญชีและเริ่มต้นการใช้งาน
วิดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
รายละเอียดการ Update Version
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
ดาวน์โหลด
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา
ร่วมงานกับเรา
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
ข่าวสาร
บทความที่น่าสนใจ
3 เรื่องที่มักเข้าใจผิด เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 เรื่องที่มักเข้าใจผิด เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
ย้อนกลับ
หน้าแรก
ข่าวสาร
บทความที่น่าสนใจ
3 เรื่องที่มักเข้าใจผิด เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 เรื่องที่มักเข้าใจผิด เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
ย้อนกลับ
1. ยิ่งกำไรน้อย ยิ่งเสียภาษีน้อย
ความเข้าใจผิดแรกนั้น เริ่มต้นจากความคิดที่ว่า ธุรกิจที่ยิ่งกำไรน้อยเท่าไร ก็ยิ่งเสียภาษีนิติบุคคลน้อยเท่านั้น เอ๊า!! ถ้าแบบนี้เราก็ทำให้ “ธุรกิจขาดทุน” เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งคำพูดก็ถือว่าเป็นคำพูดที่ถูกครึ่งหนึ่ง แต่เราต้องไม่ลืมเงื่อนไขที่ว่า ขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้น ต้องเป็น
ขาดทุนทางภาษี
ไม่ใช่
ขาดทุนทางบัญชี
เพราะธุรกิจต้องมีการปรับปรุงรายการกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชีให้กลายเป็นกำไร (ขาดทุน) ทางภาษีเสียก่อน แล้วค่อยคำนวณโดยการคูณอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กฎหมายกำหนดครับ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีการขาดทุนทางบัญชี 1 ล้านบาท แต่พบว่ามีค่าใช้จ่ายจำนวน 2 ล้านบาทที่ไม่มีเอกสารหลักฐานการจ่าย และเป็นรายจ่ายส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งรายจ่ายในส่วนนี้จะไม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ก็เลยกลายเป็นว่า ขาดทุนทางบัญชีจำนวน 1 ล้านบาทก็จะถูกบวกกลับเข้าไปด้วยค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าว ทำให้บริษัทมีกำไรทางภาษี จำนวน 1 ล้านบาทแทน
2. จดทะเบียนเป็น SMEs ได้ลดอัตราภาษีแน่ๆ
เรื่องต่อมาก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อยๆ กับคำว่า
“SMEs ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีนิติบุคคล”
โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีเงื่อนไขตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ คือ “เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท” หรือพูดสั้นๆ ก็คือสำหรับธุรกิจที่มี
“ทุนชำระไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี”
จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
สิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี
ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท
ยกเว้นภาษี
ส่วนที่เกิน 300,000 - 1,000,000 บาท
15%
ส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท
20%
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหานั่นคือ คำว่า “และ” ซึ่งหมายถึงธุรกิจของเราจะต้องมีทั้งสองเงื่อนไข คือ
ทุนชำระที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท และ รายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี
ไปพร้อม ๆ กัน และถ้าหากปีใดมีการผิดเงื่อนไข ปีต่อไปก็ไม่มีสิทธิในการใช้ตามเงื่อนไขการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้อีกด้วย!!
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่ง มีรายได้ในปี 2556 จำนวน 29 ล้านบาท และมีทุนชำระจำนวน 5 ล้านบาท สำหรับรอบบัญชีปี 2556 จะสามารถใช้สิทธิลดอัตราภาษีได้ แต่ถ้าปี 2557 บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 35 ล้านบาท และมีทุนชำระ 5 ล้านบาท จะถือว่าบริษัทแห่งนี้หมดสิทธิในการเป็น SMEs ที่ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทันที ถึงแม้ว่าในปี 2558 บริษัทนี้จะกลับมามีรายได้ต่ำกว่า 30 ล้านบาทก็ตาม
3. ภาษีครึ่งปี ต้องจ่ายด้วยหรอ?
สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่คำนวณภาษีจากกำไรสุทธิทางภาษีนั้น นอกจากยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับรอบบัญชีแล้ว (ภ.ง.ด. 50) ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบบัญชีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ภายใน 2 เดือนหลังจากวันครึ่งรอบบัญชี เช่น ถ้ารอบบัญชีของบริษัทคือวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม วันครึ่งรอบบัญชีคือวันที่ 30 มิถุนายน โดยต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีให้ทันกำหนดเวลาภายในสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี มิฉะนั้นจะมีปัญหาทั้งค่าปรับ (สูงสุด 2,000 บาท) และเงินเพิ่ม (คิดจากภาษี) ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการประมาณกำไรสุทธิครึ่งปีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิจริง โดยไม่มีเหตุอันสมควร อาจจะทำให้ธุรกิจของเราต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้ แนะนำให้ปรึกษาทางบัญชีเพิ่มเติม
สิ่งที่เจ้าของธุรกิจทุกคนต้องระวังและเตรียมพร้อมเสมอ คือ
การเสียภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อลดโอกาสเจอสรรพากร รวมถึงต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มมากมายโดยที่ไม่จำเป็น
cr:
https://www.krungsri.com
421
ผู้เข้าชม
×
โทร
081-359-7691
062-310-6963
088-258-3535
×
Line
×
ฟอร์มการติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
ชื่อบริษัท :
อีเมล :
เบอร์โทรศัพท์ :
Line ID :
ประเภทการติดต่อ :
สอบถามข้อมูล
สนใจสินค้าและบริการ
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
ทดลองใช้งานออนไลน์
ดาวน์โหลดโปรแกรม
ร้องเรียนการบริการ
อบรมสัมมนา
ธุรกิจขนส่ง
อื่นๆ
โปรแกรมที่เคยใช้งาน :
- เลือกโปรแกรมที่เคยใช้งาน -
โปรแกรม WINSpeed
โปรแกรม myAccount
โปรแกรม Prosoft CRM
โปรแกรม HRMi
โปรแกรมอื่นๆ ของกลุ่มโปรซอฟท์
ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มโปรซอฟท์
ไม่เคยใช้โปรแกรมใดๆเลย
หัวเรื่อง :
รายละเอียด :
รอบอบรมออนไลน์ :
- เลือกรอบอบรมออนไลน์ -
29-30 เมษายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
28-29 พฤษภาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
25-26 มิถุนายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
30-31 กรกฎาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
27-28 สิงหาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
24-25 กันยายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
29-30 ตุลาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
26-27 พฤศจิกายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
24-25 ธันวาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
ส่งข้อความ
ยกเลิก
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com