บริษัทร้าง คืออะไร
- บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้ประกอบการติดต่อกันหลายปี
- ไม่ได้ยื่นงบการเงินประจำปีต่อกรมพัฒน์ฯ ติดต่อกันเกิน 3 ปี
- ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่จดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ไม่ยื่นรายงานการชำระบัญชี และจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 3 ปี นับแต่ วันรับจดทะเบียนเลิก
นายทะเบียนมีอำนาจดำเนินการถอนทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ทำให้สิ้นสภาพนิติบุคคล กลายเป็น “บริษัทร้าง”
ผลกระทบจากการเป็น บริษัทร้าง
- สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล
- ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ และผู้ถือหุ้น ทุกๆ คนยังคงมีอยู่ เสมือนว่าห้างฯ และบริษัทยังไม่ได้เลิก
- เจ้าหนี้ (รวมถึงกรมสรรพากร) มีสิทธิเรียกร้องหนี้ได้อยู่
- ไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ รวมถึงไม่สามารถจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท หรือรับโอนผลประโยชน์ใดๆได้
- กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ของบริษัทร้าง ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
แก้ไขสถานะร้าง ทำได้อย่างไรบ้าง
1. จ้างทนายไปดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับเข้าสู่ทะเบียน
2. ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับเข้าสู่ทะเบียน
3. ผู้ร้องขอคัดสำเนาคำสั่งศาล(ที่เจ้าหน้าที่ศาลได้รับรองความถูกต้องแล้ว) และทำหนังสือแจ้งนายทะเบียน
4. นายทะเบียนดำเนินการออกคำสั่งกลับคืนเข้าสู่ทะเบียน และแก้ไขข้อมูลรายการทะเบียนในหนังสือรับรอง พร้อมทั้งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ขั้นตอนหลังจากกลับคืนสู่ทะเบียนแล้ว
1. ติดต่อผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี เพื่อจัดทำงบการเงินย้อนหลัง
2. นำส่งงบการเงิน พร้อมทั้งเสียค่าปรับแก่กรมพัฒน์ฯ
3. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีย้อนหลังกับกรมสรรพากรให้เรียบร้อย
4. แจ้งเลิกบริษัท และดำเนินการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นตามกำหนด
จะเห็นได้ว่าการเป็นบริษัทร้างมีแต่ผลเสียกับเสียดังนั้นอย่าลืมยื่นงบการเงินกันนะคะ
ที่มา: asiasmartconsulting