สรรพากรมองสินค้าฝากขายอย่างไร?

สรรพากรมองสินค้าฝากขายอย่างไร?



 
 

       

          การฝากขาย คือ การที่เจ้าของสินค้า ซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย (Consignor) ส่งสินค้าไปให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้าทำการจำหน่ายสินค้านั้นให้ ซึ่งเรียกว่า ผู้รับฝากขาย (Consignee) และผู้รับฝากขายจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า ซึ่งจะคำนวณเป็นอัตราร้อยละจากยอดขาย  ซึ่งกิจการซื้อมาขายไป – สินค้าฝากขาย  การฝากขายสินค้าทางกรมสรรพากรได้ออกแนวทางในการปฎิบัติไว้ 2 แบบดังนี้

1.การฝากขายโดยไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน

ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ระบุไว้เป็นการทั่วไปว่า“เมื่อมีการส่งมอบสินค้าเพื่อเป็นการฝากขาย” ไปให้ผู้รับฝากขาย แล้ว ถือว่า ภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว ผู้ฝากขาย มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำส่งภาษีขายแก่กรมสรรพากร ทำให้เกิดความแตกต่างในวิธีปฏิบัติทางบัญชี และภาษีอากรเกิดขึ้น

มาตรา 77 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมิน

(8) ” ขาย ” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึง

   (ก) สัญญาให้เช่าซื้อสินค้า สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อแล้ว หรือสัญญาจะขายสินค้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี     
   (ข) ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย
   (ค) ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
   (ง) นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเอง โดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
   (จ) มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง

 

 2. การฝากขายโดยมีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน


ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร

   ข้อ 1  ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน

   ข้อ 2  สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้

   ข้อ 3  ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

   ข้อ 4  ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา

   ข้อ 5   ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่“( แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 145) ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )

   ข้อ  ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน ตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร

การฝากขายสินค้ามีประเด็น ทางบัญชี และภาษีอากรที่ต้องทำความเข้าใจพอสมควร  ทั้งในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล  กิจการควรวางแผนจัดการ อย่างเป็นระบบ ในหัวข้อประเด็นทางบัญชี ภาษีดังนี้

การรับรู้รายได้ / ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตามความหมายการขายตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น สินค้าที่ฝากขาย โดยไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทนนั้น

ผู้ฝากขาย ต้องออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้รับฝากขาย ได้รับใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถนำมาใช้ในการเครดิตกับภาษี

หากสินค้าที่ไปวางไว้ที่ผู้รับฝากขายยังขายไม่ได้ ก็เท่ากับ ผู้ฝากขาย ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทั้งที่ยังไม่สามารถขายสินค้าได้ขายได้ระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระทุกเดื

ในบางกรณี ผู้ฝากขายอาจทำข้อตกลงกับผู้รับฝากขายว่า ทุกสิ้นเดือนจะนับยอดสินค้าคงเหลือ และปรับยอดฝากขายโดยออกใบลดหนี้ ให้ยอดขายตามใบกำกับภาษีนั้นลดลง เพื่อให้ยอดคงเหลือของสินค้าสะท้อนถึงตัวเลขสินค้าที่ขายได้จริง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ฝากขายปรับยอดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระทุกเดือน ให้เป็นไปตามยอดที่สามารถขายได้จริง

สรุป

กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน  – ออกใบกำกับภาษี และออกใบลดหนี้เมื่อสิ้นเดือน

กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – ออกใบส่งมอบสินค้า และไม่ยังไม่ต้องรับรู้รายได้ / ไม่ต้องรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่ม จนกว่าตัวแทนจะขายสินค้าได้

มูลค่าสินค้าตามใบกำกับภาษี / รายได้ของกิจการ

ในการฝากขาย กิจการอาจจะเลือกตกลงราคา / ผลประโยชน์ตามยอดขายไว้อย่างชัดเจน หรือ ขายโดยให้ผู้รับฝากบวกผลประโยชน์เพิ่มไว้เอง

ดังนั้นยอดมูลค่าสินค้าตามใบกำกับภาษี ควรจะเป็นยอดมูลค่าสินค้าตามราคาตลาด เพราะถ้ากิจการออกใบกำกับยอดที่ต่ำว่าราคาตลาดอาจมีความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีเพิ่มได้

ดังนั้นมูลค่าในใบกำกับภาษีอาจจะไม่ใช่ยอดที่กิจการเรียกเก็บจากผู้รับฝากขาย แต่เป็นยอดเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อขายสินค้าได้ทางผู้รับฝากอาจจะจ่ายเงินชำระค่าสินค้าเท่ากับมูลค่าในใบกำกับภาษี หรือ อาจจะจ่ายโดยหักส่วนลดที่กิจการได้ตกลงกันไว้แล้วก่อนหน้านี้

ผลของการรับรู้รายได้มีดังนี้

  1. กิจการรับรู้รายได้สูงเกินไป ถ้าช่วงคาบเกี่ยวปีจะมีผลในการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงเกินไป
  2. การรับรู้รายได้คลาดเคลื่อนไปจากการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี

สรุป

กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน  – รับรู้รายได้ตามยอดในใบกำกับภาษีซื้อควรต้องใช้ราคาตลาด

กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – รับรู้รายได้เมื่อตัวแทนขายสินค้าได้

การจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ

กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน  – กิจการผู้ฝากต้องมีการจัดทำสินค้าคงเหลือ ในส่วนสินค้าฝากขายแยกต่างหาก

กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – เป็นหน้าที่ตัวแทนในการจัดทำสินค้าคงเหลือ (ตามประกาศภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 8)


ที่มา : www.beeaccountant.com 

 

 17481
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์