กฎหมายแรงงานการจัดการวันลาของพนักงาน

กฎหมายแรงงานการจัดการวันลาของพนักงาน





วันลา

หมายความว่า วันที่ลูกจ้างใช้สิทธิหยุดงานอันเนื่องจากเหตุจำเป็นต่าง ๆ โดยได้รับอนุญาตจากนายจ้าง เช่น ลาป่วย

ลาเพื่อทำหมัน  ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  ลาเพื่อรับราชการทหาร  ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้  ลาเพื่อคลอดบุตร

 

ลาป่วย

ตามมาตรา 32

  • ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง
  • หากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป อาจต้องแสดงใบรับรองแพทย์
  • ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาลให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 30 วัน / ปี

(มาตรา 57)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

(มาตรา 146)

 

ลาเพื่อทำหมัน

ตามมาตรา 33

  • ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้
  • ระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองของแพทย์

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทำหมันเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ตามใบรับรองของแพทย์

(มาตรา 57)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

 

ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น  

ตามมาตรา 34

  • ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้
  • ต้องเป็นภาระที่บุคคลอื่นไม่สามารถทำแทนได้ ต้องดำเนินการเอง
  • การลาเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

ไม่เกิน 3 วันทำงาน / ปี

(มาตรา 57/1)

หากนายจ้างไม่จ่าย อาจจำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน

หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ลาเพื่อรับราชการทหาร  

ตามมาตรา 35

  • ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้
  • ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
  • ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 60 วัน / ปี (มาตรา 58)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท  (มาตรา 146)

 

ลาเพื่อไปพัฒนาความรู้ 

ตามมาตรา 36

  • ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ ไม่เกิน 30 วัน หรือ 3 ครั้ง / ปี
  • ลูกจ้างต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน
  • ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วัน

ให้ถือเป็นการลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง(แล้วแต่กรณี)

 

ลาเพื่อคลอดบุตร

ตามมาตรา 41

  • ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน / ปี
  • ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์
  • ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59)

นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)

      

ที่มา : www.dharmniti.co.th

 17559
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์