รอบระยะเวลาบัญชีของธุรกิจ

รอบระยะเวลาบัญชีของธุรกิจ



รอบระยะเวลาบัญชี
          ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
          (1) รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้
          (2) รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้ มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ
                   
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน
                   
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
                   
ค. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
                   
ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตาม (ค) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน
         
ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
         
(3) รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสีย ภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)

การกำหนดรอบระยะเวลาบัญชี บน Prosoft ibiz
         
ผู้ใช้งานสามารถกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีได้ในระบบ Period
          1. ให้ผู้ใช้งานไปที่ระบบ Setting > Tab: General > งวดบัญชี

การกำหนดรอบระยะเวลาบัญชี 12 งวด
         
2. ผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ โดยไปที่ Tab : Period >กดปุ่ม “” เพื่อเลือกช่วงวันที่ของงวดบัญชี (หมายเลข1) >“เลือกปีของงวดบัญชีที่ต้องการ” > “Generate”เพื่อสร้างงวดบัญชี (หมายเลข2)ระบบจะแสดงหน้าจอรายการงวดบัญชีทั้ง 12 งวด ได้แก่ งวด วันที่เริ่มต้น, วันที่สิ้นสุด, (จำนวน) วัน ,หมายเหตุ และสถานะ คือ การกำหนดสถานะของงวดบัญชี โดยมีทั้งหมด 2 สถานะ ดังนี้
                   
Open คือ สถานะเปิดการใช้งานงวดบัญชี
                    Close คือ สถานะปิดการใช้งานงวดบัญชี เพื่อไม่ให้สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลในงวดนั้นๆได้
          เมื่อผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลได้ โดยกดปุ่ม “Save”(หมายเลข3) ทางด้านขวาบนของหน้าจอโปรแกรม เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลงวดบัญชี ดังรูป

การกำหนดรอบระยะเวลาบัญชี มากกว่า 12 เดือน
         
ผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ โดยไปที่ Tab : Adjustment > กดปุ่ม "+" เพื่อเพิ่มรายการรรอบระยะเวลาบัญชีเพิ่มเติม > เลือก วันที่เริ่มต้น, วันที่สิ้นสุด, หมายเหตุ และสถานะ


ขอขอบคุณที่มาของบทความ : กรมสรรพากร

 5898
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์