ผู้ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ ส่วน ภ.ง.ด. 91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
การยื่นภาษีออนไลน์เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วที่สุดในการขอคืนภาษี วันนี้เราจะมาสรุปขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อให้คุณได้เงินภาษีคืนอย่างรวดเร็ว
ใบ 50 ทวิ (ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย) ซึ่งแสดงรายได้รวมในปีนั้น และภาษีที่หักไว้ เงินเงินสมทบประกันสังคม ฯลฯ
เอกสารภาษีปันผล
หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03)
หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04)
หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04-1)
ทะเบียนสมรส
เอกสารรับรองบุตร
ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับรอง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดให้แก่สถานพยาบาล
เบี้ยประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ไม่ต้องเตรียมเอกสารแต่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนต่อตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกัน
เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ไม่ต้องเตรียมเอกสารเช่นกัน แต่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนต่อตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกัน
เอกสารหนังสือรับรองการซื้อกองทุน SSF RMF
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
หากกู้ซื้อบ้านหรือคอนโด ให้ขอหนังสือรับรองการเสียดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากธนาคารด้วย
หากมีการบริจาคผ่าน e-Donation ไม่ต้องเตรียมเอกสาร เพราะทางสรรพากรสามารถเข้าไปตรวจสอบในระบบได้
การบริจาคทั่วไปต้องมีใบอนุโมทนาบุญ หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อผู้ยื่นภาษีเป็นผู้บริจาค
สำหรับการบริจาคเพื่อพรรคการเมือง ใบเสร็จ หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ช่วยยืนยันว่าผู้ยื่นภาษีได้บริจาคช่วยเหลือพรรคการเมือง เช่น ใบโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ผู้ยื่นภาษีบริจาคให้แก่พรรคการเมือง เป็นต้น
หลังจากเตรียมเอกสารทั้งหมดและสแกนเรียบร้อย หรืออาจจะถ่ายเป็นรูปเอาไว้ จากนั้นก็ยื่นแบบออนไลน์ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรให้ลงทะเบียนได้ที่ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ โดยจะต้องใช้เลขบัตรประชาชนสมัครสมาชิกลงทะเบียนเพื่อเข้าระบบก่อน Log in และระบบจะให้เรายืนยันตัวตนด้วยหมายเลข OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ของเรา
สำหรับการยื่นแบบในลักษณะของบุคคลธรรมดา ให้เราเลือกเมนู ยื่นแบบ ในหัวข้อ ภงด. 90/91
ในส่วนสถานะสำหรับการยื่นแบบ หากเรามีสถานะสมรส เราสามารถเลือกได้ว่าจะยื่นแบบแยกหรือคู่กับคู่สมรส ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะช่วยประหยัดภาษีมากที่สุด เช่น ถ้าทั้งคู่มีรายได้อยู่ในฐานภาษีที่สูงก็ควรแยกกันยื่น จะได้ประโยชน์มากกว่ายื่นรวม
ส่วนต่อมาจะเป็นการระบุรายละเอียดของรายได้ในแต่ละหมวด ได้แก่
รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รับจ้างทั่วไป, วิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน, การทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน, รายได้จากมรดก
ในส่วนต่อมาจะเป็นในส่วนของการลดหย่อนจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อได้แก่
ค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัว, ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออม และการลงทุน, ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ, เงินบริจาค
เมื่อเราระบุข้อมูลครบถ้วนแล้ว ต่อไปจะเป็นหน้าสรุปข้อมูลการยื่นแบบ มี 2 กรณีคือ กรณีที่ไม่ได้ชำระภาษี หรือมีภาษีที่ชำระไว้เกิน
ในกรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ระบบจะแจ้งผลการยื่นแบบ และหมายเลขอ้างอิง พร้อมออกเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบ
กรณีมีภาษีชำระไว้เกิน เราจะต้องเลือก “ต้องการขอคืน” ในหัวข้อ “การขอคืนเงิน” ด้วย กรมสรรพากรถึงจะทำการคืนภาษีให้เรา โดยสามารถเลือกรับคืนเงินภาษีที่ชำระเกินได้ทั้งช่องทางพร้อมเพย์ (ติดตามสถานะคืนเงินภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th)
กรณีที่จะต้องชำระภาษีเพิ่ม
ในกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มสามารถเลือกชำระภาษีได้ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนด และหากมียอดภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยต้องชำระเงินภายในวันที่กำหนด (หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ) โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ต้องชำระให้ทั้ง 3 งวด และจะมี SMS จากกรมสรรพากรแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดวันที่ต้องชำระภาษี
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ที่บุคคลทั่วไปควรรู้ หลังจากนี้สำหรับผู้ชำระภาษีไว้เกิน ก็รอรับเงินภาษีคืนได้เลย
ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุนี้เกิดจากการยื่นเอกสารไม่ครบถ้วน หรือ กดส่งแบบมากกว่าหนึ่งครั้ง หากรอแล้วก็ยังไม่ได้เงินคืน ให้ลองตรวจสอบสถานะในระบบก่อน หากแน่ใจว่าส่งข้อมูลและเอกสารครบถ้วนแต่ก็ยังไม่ได้รับเงินคืน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 จำนวนคู่สายให้บริการ 120 คู่สาย เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30-18.00 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://byte-hr.com/th