คือ การตรวจสอบเฉพาะเรื่องที่กำหนด เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ หรือวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
การตรวจสอบงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนโดยผู้สอบบัญชี จะเป็นการตรวจสอบเพื่อให้ผู้สอบบัญชี สามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินงวดที่ตรวจสอบ โดยผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน การสอบบัญชี ในขณะที่ SPECIAL AUDIT จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะเรื่องหรือขอบเขตงานที่กำหนด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การตรวจสอบความมีอยู่จริงของลูกหนี้การค้า เป็นต้น
กรณีที่บริษัทจดทะเบียนต้องการตรวจสอบข้อมูลในเรื่องใด ๆ เชิงลึกมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถว่าจ้างให้ผู้สอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบตามขอบเขตที่กำหนด เพื่อรวบรวม ข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานโดยเฉพาะเองได้
การสั่ง SPECIAL AUDIT ของ ก.ล.ต. มักเกิดจากกรณีมีเหตุสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้อง หรือความชัดเจนของข้อมูลในงบการเงินหรือเอกสารหรือรายงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจกระทบสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือการตัดสินใจลงทุน ทำให้มีความจำเป็น “ต้องค้นหาข้อเท็จจริง และเอกสารหลักฐานในเชิงลึก” ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น (non-financial data) ซึ่งมากกว่าการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบว่า มีความผิดปกติของข้อมูลในงบการเงินหรือไม่ หรือมีการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งเพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย
การสั่ง SPECIAL AUDIT ของ ก.ล.ต. มักเกิดจากกรณีมีเหตุสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้อง หรือความชัดเจนของข้อมูลในงบการเงินหรือเอกสารหรือรายงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอาจกระทบสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือการตัดสินใจลงทุน ทำให้มีความจำเป็น
“ต้องค้นหาข้อเท็จจริง และเอกสารหลักฐานในเชิงลึก” ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น (non-financial data) ซึ่งมากกว่าการตรวจสอบปกติของผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบว่า มีความผิดปกติของข้อมูลในงบการเงินหรือไม่ หรือมีการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งเพื่อเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วย
● งบการเงินถูกต้อง แต่มีเงื่อนไขบางประการ
● งบการเงินถูกต้อง แต่มีข้อสังเกตบางเรื่อง ที่ผู้สอบบัญชี อยากเน้นให้ระวัง เช่น รายได้หลักของบริษัทมาจากคู่ค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น
● ไม่อาจแสดงความเห็น ต่องบการเงินได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือติดข้อจำกัดบบางประการ
● งบการเงินไม่ถูกต้อง
หากมีความผิดปกติ ข้อใดข้อหนึ่ง ก็อาจเป็นเหตุผลให้ ก.ล.ต. สั่งตรวจ หรือให้ติดตามข้อสงสัยได้ รวมถึง ถ้ามีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับบริษัท ก็สามารถสั่งตรวจ Special Audit ได้เช่นกัน
ส่วนของระยะเวลา ในการตรวจสอบนั้น เบื้องต้น ก.ล.ต. กำหนดไว้ ที่ 30 วัน แต่อาจยื่นระยะเวลาออกไปได้อีก หากเอกสารที่ต้องตรวจสอบ มีจำนวนมาก
ซึ่งขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจ ของทาง ก.ล.ต. ด้วย
โดยที่ผ่านมา เคยมีกรณี ที่ ก.ล.ต. ขยายเวลา ในการนำส่งรายงาน การตรวจสอบ กรณีพิเศษ ครั้งที่ 2
ขอบคุณที่มา : https://www.dharmniti.co.th