SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท ไปทำความเข้าใจกัน

SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท ไปทำความเข้าใจกัน

SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท ไปทำความเข้าใจกัน



หลายคนเคยได้ยินคำว่า ธุรกิจ SME อยู่บ่อยครั้ง แต่รู้ไหมว่าธุรกิจ SME ที่มักมีการพูดถึงอยู่นั้นมีมูลค่ามหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจเลยทีเดียว ในบทความนี้ จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจ SME มากขึ้น รวมถึงความน่าสนใจของธุรกิจ SME ที่ควรทำความเข้าใจ



วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) คืออะไร

ธุรกิจ SME (Small and Medium Enterprises) หรือเรียกว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่มีรายได้ สินทรัพย์และพนักงานจำนวนน้อย ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการ sme คือ ผู้ที่มีความเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับกลุ่มธุรกิจใด ใช้เงินลงทุนต่ำ ซึ่งหลักๆ เป็นเงินทุนของเจ้าของธุรกิจเองหรือเงินทุนจากการกู้ยืมสินเชื่อจากธนาคาร จุดเด่นของธุรกิจ SME คือการดำเนินธุรกิจในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ มีทั้งธุรกิจการผลิต การค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร การเกษตรหรือโรงแรมขนาดเล็ก เป็นต้น ธุรกิจ SME จึงถือเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย



ประเภทของธุรกิจ SME

ธุรกิจ SME มีกี่ประเภท? การแบ่งตามประเภทของกิจการ และการแบ่งตามขนาดของวิสาหกิจ ซึ่งในปัจจุบันนั้น สสว. ได้กำหนดขนาดของวิสาหกิจเป็น 3 ขนาด (MSME) คือ วิสาหกิจรายย่อย (Micro) วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ธุรกิจ SME มี 3 ประเภท ได้แก่จึงถือเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เป็นธุรกิจที่ดำเนินการในการผลิตทั้งในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการทำเหมืองแร่ต่างๆ ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง จะมีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้
  • วิสาหกิจรายย่อย ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 8 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 100-500 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 50-200 คน

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้า

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้า ครอบคลุมธุรกิจด้านการค้าปลีก การค้าส่ง กิจการการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง จะมีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้
  • วิสาหกิจรายย่อย ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 8 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50-300 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30-100 คน

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ครอบคลุมธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ร้านอาหาร การศึกษา การประกันภัย สุขภาพ การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง จะมีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้
  • วิสาหกิจรายย่อย ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 8 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50-300 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30-100 คน

บทบาทของธุรกิจ SME ในระบบเศรษฐกิจคืออะไร

ธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจประเทศไทย ธุรกิจ SME มีบทบาทต่อการเติบโตและยังเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วย เพราะเป็นธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย ที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ ลดการผูกขาดของกลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งบทบาทสำคัญของธุรกิจ SME นั้น ได้สรุปมาแล้ว ดังนี้
  • ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน ธุรกิจ SME มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง มีจำนวนผู้ประกอบการมากกว่า 3 ล้านราย จึงจะเห็นได้ว่าจะเกิดการจ้างงานจำนวนมากตามการเติบโตของธุรกิจ SME
  • เป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) ที่เชื่อมโยงระหว่างธุรกิจเล็กและอุตสาหกรรมใหญ่ เพราะบางธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตที่รับวัตถุดิบจากภาคการเกษตรมาผลิต และส่งต่อไปยังอุตสาหกรรมใหญ่ เป็นต้น
  • ธุรกิจ SME ช่วยเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบภายในประเทศ เพราะจะใช้ทรัพยากรภายในในการผลิตและการค้าเป็นหลัก
  • ธุรกิจ SME ทำให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่จำนวนมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก ความเสี่ยงน้อย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งทางด้านการเป็นผู้ประกอบการ และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพต่างๆ อีกด้วย
  • ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เพราะธุรกิจ SME สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย

ธุรกิจ SME ที่มีความน่าสนใจ และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจนั้น มีหลายธุรกิจ โดยธุรกิจที่มาแรงและได้รับความนิยม เช่น

  • ธุรกิจออนไลน์ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายมหาศาลในแพลตฟอร์มต่างๆ
  • ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นเทรนด์ใหม่ของผู้คนที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากขึ้น
  • ธุรกิจร้านกาแฟยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพราะมีความหลากหลายมาก
  • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายแบบเดลิเวอรี่ที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น
  • ธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาทั้งการสอนออนไลน์ไปจนถึงการขาย คอร์สเรียนในเรื่องเฉพาะเจาะจง



ข้อได้เปรียบของธุรกิจ SME เปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่

ธุรกิจ SME แม้จะเป็นธุรกิจเล็ก แต่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระดับประเทศได้ โดยมีมูลค่าถึง 1,542,710 ล้านบาท คิดเป็น 35.6 % ของ GDP รวม เลยทีเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มของวิสาหกิจรายย่อย ที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจ SME เป็นธุรกิจสำหรับคนทั่วไปที่มีเงินทุนน้อยถึงปานกลาง แต่กลับส่งผลต่อมูลค่าเศรษฐกิจประเทศมหาศาล เพราะว่าธุรกิจ SME นั้น มีข้อได้เปรียบหลายประการเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีอะไรบ้าง วันนี้ ขอนำเสนอดังนี้เลย
  • ธุรกิจ SME สามารถบริหารจัดการได้ง่าย

    เนื่องจาก ธุรกิจ SME ใช้เงินลงทุนไม่สูง เป็นข้อที่ทำให้การเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้ง่าย มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนธุรกิจใหญ่ แถมยังปรับตัว ปรับเปลี่ยนแผนได้ง่ายรวดเร็วกว่า ด้วยความที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กจึงสามารถบริหารจัดการได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงบประมาณ กำลังคน การจัดการความคล่องตัวของธุรกิจ และการบริหารจัดการสต็อคสินค้าด้วย

  • ธุรกิจ SME เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย

    เพราะธุรกิจขนาดเล็กสามารถใกล้ชิดกับลูกค้าได้มาก ทำให้เป็นข้อได้เปรียบหนึ่งเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME จะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง มีการสื่อสารมีที่ประสิทธิภาพและตรงประเด็น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้อย่างดี ทำให้ลูกค้ามีการบอกต่อ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพว่าการโฆษณา เพราะลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์แล้วนั่นเอง

  • ธุรกิจ SME ดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าทำงาน

    ปัจจุบันแนวโน้มของคนรุ่นใหม่จะนิยมเลือกทำงานในองค์กรขนาดเล็กมากขึ้น เพราะว่ามีความเป็นอิสระ คล่องตัว และยืดหยุ่นมากกว่าองค์กรใหญ่ๆ โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบกฎเกณฑ์ที่คนรุ่นใหม่เห็นว่าไม่มีความจำเป็น ดังนั้น การเลือกทำงานในองค์กรขนาดเล็ก นอกจากจะสบายใจกว่าแล้ว ยังมีความท้าทายและสนุกมากกว่าองค์ขนาดใหญ่ ทำให้คนคุณภาพจำนวนหนึ่งเลือกทำงานกับธุรกิจ SME มากกว่า




แนวทางจัดการความเสี่ยงที่ควรรู้ไว้ก่อนทำธุรกิจ SME

ถึงแม้ว่าการทำธุรกิจ SME จะมีข้อดีและข้อได้เปรียบหลายประการ แต่ว่าการทำธุรกิจนั้นก็ย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ดังนั้น จึงขอรวบรวมและสรุปถึงแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจทำธุรกิจ SME ที่สำคัญๆ ได้แก่
  • การเริ่มต้นธุรกิจให้พอดี

    ผู้ประกอบการควรต้องพิจารณาเรื่องของทรัพยากรที่มีอยู่สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ ที่ควรจะใช้อย่างคุ้มค่า ในช่วงเริ่มต้นอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยขนาดใหญ่เกินกว่าทรัพยากรที่มีจะรองรับได้ แต่ควรเน้นให้มีความสมดุล รวมไปถึงการจ้างผู้เชี่ยวชาญแม้ว่าจะมีค่าแรงสูงในระยะแรกอาจจะมีความจำเป็นมากกว่าพนักงานที่ยังไม่มีทักษะ

  • การสร้างฐานธุรกิจด้วยแผนการเงิน

    การวางแผนการเงินจะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมรายรับรายจ่ายได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินและปริมาณเงินสดที่หมุนเวียนของธุรกิจได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

  • การบริการหลังการขาย

    การขายสินค้าไม่ได้จบลงที่การซื้อขายเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการควรคิดถึงการบริการหลังการขายด้วย เพราะการมีบริการหลังการขายที่ดีจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้ามีความผูกพันกับแบรนด์ ส่งผลให้กลับมาซื้อซ้ำ หรือมีการบอกต่อ

  • การมองหาพาร์ทเนอร์

    ผู้ประกอบการควรพิจารณาและเริ่มมองหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถร่วมมือกันได้ในอนาคต สามารถช่วยกันส่งเสริมภาพลักษณ์และส่งเสริมการขายของแต่ละธุรกิจได้

  • การเรียนรู้เทคโนโลยี

    การเรียนรู้เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะเป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนของการดำเนินกิจการได้มากทีเดียว นอกจากนั้นเทคโนโลยียังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการขายด้วย


จะเห็นได้ว่าธุรกิจ SME นั้นมีความน่าสนใจมาก เพราะธุรกิจ SME เป็นธุรกิจขนาดย่อมไปจนถึงขนาดกลาง ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจ SME มีความอิสระ ยืดหยุ่น และยังเป็นธุรกิจที่สร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของท้องถิ่นไทยด้วย

Cr : https://www.kasikornbank.com
 41
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์