ไขข้อข้องใจ ธุรกิจ SMEs และ ธุรกิจ StartUp คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจ ธุรกิจ SMEs และ ธุรกิจ StartUp คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจ ธุรกิจ SMEs และ ธุรกิจ StartUp คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร



วันนี้เราจะพาคุณมารู้จักสองโมเดลทางธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง SMEs และ StartUp มาดูสิว่าทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันในด้านไหนบ้าง และมีด้านไหนที่คล้ายกันจนแยกแทบไม่ออก มาเริ่มกันเลย!

SMEs คืออะไร?

SMEs นั้นย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises แปลตรงตัวได้ว่า “ธุรกิจขนาดเล็ก” หรือ “ธุรกิจขนาดกลาง”มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเล็กๆ ในครอบครัวแบบแผนสบายๆ แล้วต่อยอดมาเรื่อยๆ จนเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น การวางแผนจัดการจะอยู่ที่เจ้าของเดียวเป็นหลัก หลายคนคิดว่าเป็นธุรกิจที่ต้องยิ่งใหญ่ มีแบบแผน มีคนให้เงินทุน เพราะแต่ละธุรกิจที่ได้ออกรายการ SMEs ตีแตก มักจะเป็นธุรกิจที่เริ่มเติบโตมากๆ อย่าง Diamond Grains, Shichida หรือหมูทอดเจ๊จง

StartUp คืออะไร?

StartUp คือ โมเดลธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มจะซับซ้อนกว่าธุรกิจแบบ SMEs จะมีแบบแผนหลายอย่างมากยิ่งขึ้น เริ่มมีนักลงทุนเข้ามามีบทบาท เป็นธุรกิจที่เติบโตได้แบบก้าวกระโดด มีแผนการขยายในอนาคตแน่นอน ธุรกิจแบบนี้จะต้องมีการรายงานผล การวัดผล ด้วยมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วย หรือต้องใช้แผนทางธุรกิจสรุปเพื่อนำเสนอต่อนักลงทุน ดูรูปแบบแล้วคิดถึงซีรีส์เกาหลีชื่อดังอย่าง StartUp การทำโครงการ วางแผน ครีเอทธุรกิจสินค้าหรือบริการให้โดนใจนักลงทุน ในเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมาก ใครที่อยากเริ่มธุรกิจแบบ StartUp ลองไปดู เผื่อจะได้แรงบันดาลใจดีๆ มาต่อยอดธุรกิจของคุณได้

ข้อดี ข้อเสียของธุรกิจ SMEs และ StartUp

ข้อดีของ SMEs

  • ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ความรู้ในการประกอบธุรกิจ หรือแหล่งเงินกู้
  • ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนชั้นนำเป็นการสร้างคอมมูนิตี้
  • สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

ข้อดีของ StartUp

  • ยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเหมือน SMEs
  • ได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมจาก Starup Thailand
  • ได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมจากภาคเอกชน
  • ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนด้วยตัวเอง
  • เติบโตไวเพราะได้รับการสนับสนุนจากหลายด้าน

ข้อเสียของ SMEs

  • ปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้ยาก เพราะมักเกิดจากธุรกิจภายในครอบครัว
  • มีต้นทุนที่สูง
  • ต้องใช้กำลังมากในการสร้างกลุ่มลูกค้า

ข้อเสียของ StartUp

  • ทำการตลาดค่อนข้างยาก
  • การลงทุนมีความเสี่ยง
  • ไม่มีทรัพย์สินถาวร ไม่มีมูลค่าทางธุรกิจ

ความแตกต่างของ SMEs และ StartUp คือ

แน่นอนว่าทั้งสองรูปแบบธุรกิจมีเส้นบางๆ กั้นอยู่ เราก็เลยจัดทำตารางมาให้เห็นกันชัดๆ ว่าข้อแตกต่างมีอะไรบ้าง แบ่งตามขนาดของธุรกิจ การเริ่มต้น เงินทุนและเงินหมุนในการทำธุรกิจ ได้ออกมาว่า



การทำการตลาดของธุรกิจ SMEs และ StartUp

รู้ความแตกต่างของทั้งสองธุรกิจกันไปแล้ว มาดูสิ่งที่เหมือน และคล้ายคลึงกันบ้าง แนวทางการทำการตลาดของธุรกิจ SMEs และ StartUp พูดได้เลยว่ากว่า 90% นั้นล้มเหลวเพราะทำการตลาดไม่ตรงจุด เจ้าของธุรกิจต้องศึกษาการทำการตลาดให้ดี โดยอ้างอิงตามกลยุทธ์ ดังนี้

1. เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง
ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายเป็นลูกค้าของธุรกิจในอนาคต ศึกษาพฤติกรรม ความพอใจของพวกเขา และยิงโฆษณาไปให้ตรงจุด โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดียต่างๆ หากเราวางเป้าหมายได้อย่างชัดเจนก็จะทำให้เราประหยัดค่ายิงโฆษณาลงอีกด้วย

2. เพิ่มการติดต่อสื่อสารให้มากกว่า 1 ช่องทาง
พยายามใกล้ชิดกับลูกค้าให้มากขึ้น ด้วยการใช้สื่อหลายๆ ช่องทาง หรือหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, IG หรือ Line เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเรา และสามารถสร้างโอกาสในการขายให้มากยิ่งขึ้น

3. สร้างกระแส
พอเราได้ขึ้นไปอยู่บนสื่อโซเชียลแล้ว การติดกระแสเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สร้างกระแสพลังบวกที่จะเพิ่มการแชร์คอนเทนต์ของคุณออกไป ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น คอนเทนต์ต้องสร้างสรรค์ น่าสนใจ และโปรโมตสินค้าหรือบริการได้อย่างตรงประเด็น

4. สร้างเครือข่ายผู้บริโภค
คิดหากลยุทธ์ในการตลาดที่น่าสนใจ เพื่อสร้างลูกค้าใหม่จากการบอกต่อ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชัน การบริการหลังการขายสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่คุณมอบให้ลูกค้าได้ เมื่อลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า รู้สึกว่าดี ก็จะเกิดการบอกต่อ นั่นแหละ เครือข่ายของผู้บริโภคของคุณก็เกิดขึ้นแล้ว

5. วิเคราะห์จากสถิติ
ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด online และ offline ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลของผู้บริโภคเพื่อนำไปวิเคราะห์ว่า ข้อมูลสินค้า กลยุทธ์ทางการขาย วิธีที่สื่อสารมีผลต่อลูกค้าอย่างไร การเก็บสถิติมีประโยชน์มาก ในข้อนี้หากคุณทำธุรกิจ SMEs หรือ StartUp บนช่องทาง online ก็จะทำได้ง่ายกว่า แต่ไม่ใช่ว่าแบบ offline จะทำไม่ได้เลย เพราะยังมีช่องทางแบบสอบถามที่คุณสามารถเก็บจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการของคุณได้

ตัวอย่างธุรกิจ SMEs และ StartUp ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้นมีธุรกิจทั้งสองประเภทนี้อยู่มากมาย บางธุรกิจมีชื่อเสียงไปไกลระดับโลกเลยทีเดียว ถึงบางธุรกิจจะยังเป็นเพียง unicorn startup แต่ก็ได้รับความสนใจจากตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก



อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะพอเข้าใจเรื่อง SMEs และ Startup มากขึ้นแล้ว อยากเลือกที่จะเริ่มทำธุรกิจเป็นของตัวเองหรือยัง? เลือกให้ถูกเลือกให้ดีแต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ SMEs หรือ StartUp ทั้งสองสิ่งก็คือการทำธุรกิจที่ต้องลงทุน ลงแรง เสียสละเวลาเพื่อจะคิด วิเคราะห์ แยกแยะ วางแผนต่างๆ เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้อย่างดีในอนาคต และสำหรับนักลงทุนมือใหม่สิ่งที่ต้องรู้และทำความเข้าใจอีกอย่างคือ “ทุกการทำธุรกิจคือความเสี่ยง และทุกความเสี่ยงคือการลงทุน”

Cr : https://www.cimbthai.com
 34
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์