ข้อมูลทางการเงินที่ SMEs ควรรู้ !!!

ข้อมูลทางการเงินที่ SMEs ควรรู้ !!!

ข้อมูลทางการเงินที่ SMEs ควรรู้ !!!



แม้ผู้ประกอบการหลายรายจะมีประสบการณ์ในธุรกิจของตนเองมาเป็นอย่างดี แต่ในยามที่เกิดวิกฤตธุรกิจของผู้ประกอบการเหล่านั้นก็มักจะเกิดปัญหาสะดุดหยุดลงอยู่เสมอ ทั้งที่หลายธุรกิจมีสินค้าและบริการที่ดีและอยู่ในความต้องการของตลาด หากได้รับการสนับสนุนเงินทุนจะทำให้กิจการเติบโตและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างมาก เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นหลงลืมอะไรหรือไม่ บทความนี้จะแนะนำเคล็คลับง่ายๆ ที่ผู้ประกอบการพึงต้องตระหนักไว้ในการดำเนินธุรกิจอยู่เสมอ

4 ปัจจัยหลักที่ผู้ประกอบการควรในความสนใจ คือ

1) กระแสเงินสดของกิจการ

2) ผลกระทบของรายได้-ค่าใช้จ่ายของกิจการ

3) การจัดหาเงินทุนสำรอง

4) เตรียมการหาแหล่งรายได้ใหม่ของกิจการ

กระแสเงินสดของกิจการ Cash Flow

การบริหารจัดการกระแสเงินสดนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการที่ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการเริ่มดำเนินธุรกิจ เจ้าของกิจการจะต้องทราบว่า เมื่อขายสินค้าของตนแล้วเงินสดจะเข้ามาเมื่อไร อย่างไร กิจการมีรายจ่ายอะไรบ้าง และต้องจ่ายเมื่อใด มีเงินสดเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายหรือไม่ หากไม่เพียงพอเตรียมแผนสำรองไว้อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องประมาณการกระแสเงินสดเข้า–ออก ให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถวางแผนบริหารจัดการเงินได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงมีการบริหารเครดิตเทอม ให้สอดคล้องกับลูกค้าของกิจการ โดยพยายามบริหารเงินให้ธุรกิจได้ประโยชน์มากที่สุด ผู้ประกอบการพึงต้องตรวจสอบเงินสดคงเหลือ ลูกหนี้การค้า และวงเงินเครดิตเทอมที่ให้กับลูกหนี้อยู่เสมอ

ผลกระทบต่อกิจการ Impact

ประมาณการผลการผลกระทบของรายได้และค่าใช้จ่ายที่มีต่อกิจการ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่กระแสเงินสดของกิจการ เนื่องจากปริมาณการขาย ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่าย มีผลกระทบต่อกำไรของกิจการ ตัวอย่างเช่น เมื่อเรากำหนดให้ปริมาณขายคงที่ เท่ากับ 100 บาท มีต้นทุนขาย เท่ากับ 80 บาท มีกำไร 20 บาท ถ้ากิจการบริหารต้นทุนลดลงเป็น 70 บาท กิจการจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น รวมเป็น 30 บาท และในทางกลับกันดังนั้นผู้ประกอบการต้องทราบความสัมพันธ์ดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนและการตัดสินใจ เพื่อที่จะได้ประมาณการผลกระทบของรายได้ และค่าใช้จ่ายได้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ความเป็นจริงให้มากที่สุด

การจัดหาแหล่งเงินทุนสำรอง Reserve

เงินทุนหมุนเวียน หรือ เงินสำรองเป็นสิ่งที่กิจการควรจะกันเอาไว้เสมอ เพราะถ้าเกิดวิกฤตอะไรขึ้นมา กิจการจะต้องไม่สะดุดหรือไม่ล้ม ดังนั้น ผู้ประกอบการควรตระหนักถึงเรื่องเงินทุนหมุนเวียนให้รอบคอบ กล่าวคือ ต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป ควรเผื่อเงินสำรองไว้ 3 เดือน หากมีการให้เครดิตเทอมอาจต้องเตรียมเงินทุนสำรองถึง 6 เดือน แหล่งเงินทุนสำรองที่สำคัญ นอกจากเงินส่วนตัวของผู้ประกอบการเองแล้ว คือ สถาบันการเงินต่างๆ โดยอาจจะเป็นการกู้ยืมโดยมีการจำนำ จำนอง หรือ ค้ำประกัน หากผู้ประกอบการไม่ได้กู้ยืมมาจากธนาคารใดเป็นเงินทุนของผู้ประกอบการหรือหุ้นส่วน ก็จะหมดกังวลในเรื่องดอกเบี้ย แต่ถ้ากู้ยืมเงินดังกล่าวมาจากธนาคารจะต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบและลดความเสี่ยงให้มากที่สุด ดังนั้น การเตรียมจัดหาแหล่งเงินทุนสำรองควรมีเผื่อไว้เสมอ

มองหาแหล่งรายได้ใหม่ New Revenue

การมองหาการลงทุนเพื่อสร้างรายได้และกำไรในอนาคต ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมของกิจการอาจจะประสบปัญหายอดขายลดลง อันเนื่องมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงหรือภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการก็อาจจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อมุ่งไปหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ตลาดใหม่ไว้เป็นทางเลือก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการคงต้องมองถึงเรื่องการปรับโครงสร้างต้นทุนของทั้งกิจการไปในคราวเดียวกันด้วย

Cr : https://wdev.smebank.co.th/
 32
ผู้เข้าชม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์