ไขข้อสงสัย Easy E-Receipt 2.0 ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีปี 2568
รวมทุกข้อสงสัยมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ช้อปสินค้าลดหย่อนภาษีในปี 2568 สูงสุด 50,000 บาท สินค้าและบริการอะไรที่นำไปลดหย่อนได้และไม่ได้ รวมถึงวิธีการลดหย่อนเป็นอย่างไร
รัฐบาลออกมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เพื่อสนับสนุนการบริโภคในประเทศ และส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น โดยผู้ที่รายได้และเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถนำค่าสินค้าหรือบริการที่กำหนดไปลดหย่อนภาษีในปี 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. จนถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568
“Easy E-Receipt 2.0” รัฐบาลตั้งเป้าให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมูลค่า 70,000 ล้านบาท และเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะขยายตัว 2.3 – 3.3% พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น คาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้สิทธิมาตรการนี้ประมาณ 1.4 ล้านคน และจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 10,500 ล้านบาท
ทั้งนี้กรมสรรพากรได้จัดทำคำถาม-คำตอบ สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เช่น วิธีการใช้ เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ และกระบวนการนำไปลดหย่อน ดังนี้
ถาม-ตอบ เงื่อนไข Easy E-Receipt
ตอบ : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท
ตอบ : (1) ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(2) หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ในกรณี
ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (1) รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (2) ด้วย เช่น ซื้อสินค้า OTOP 50,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ 50,000 บาท
ตอบ : หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
ตอบ : ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ตอบ : ได้เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้
ตอบ : สินค้าหรือค่าบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้ ดังนี้
ตอบ : จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องจดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
ตอบ : ต้องเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยจะจดแจ้งขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อกรมสรรพากรหรือไม่ก็ได้
ตอบ : ชื่อและนามสกุล ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) เมื่อแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏ ใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568
ตอบ : หาก e-Tax Invoice มีรายการครบถ้วน แม้จะมีการระบุชื่อหรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด ก็สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้ ทั้งนี้ ควรตรวจสอบว่าเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการถูกต้องหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูลยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ตอบ : ได้ หากซ่อมและจ่ายค่าซ่อมระหว่างวันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 และได้รับ e-Tax Invoice
ตอบ : ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จักรยานยนต์หมายความรวมถึงจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย
ตอบ : ได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากการขายทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากเป็นค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 ม.ค. 2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 ก.พ. 2568
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากต้องชำระค่าบริการและใช้บริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 เท่านั้น
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากการให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากการขายบัตรเพื่อแลกรับบริการไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากนำบัตรเพื่อแลกรับบริการไปแลกรับบริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 ซึ่งสามารถคำนวณมูลค่าและออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ สามารถหักลดหย่อนตามมูลค่าดังกล่าวได้
ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากการขายบัตรของขวัญหรือบัตรเติมเงินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากนำบัตรของขวัญหรือบัตรเติมเงินไปแลกซื้อสินค้าหรือรับบริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค. 2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ. 2568 ซึ่งสามารถคำนวณมูลค่าและออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ สามารถ หักลดหย่อนตามมูลค่าดังกล่าวได้
ตอบ : e-Tax Invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที่ได้มี การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ทั้งนี้ ผู้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้ออกได้
ตอบ : จะใช้ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ปัจจุบันก็ได้
ตอบ : ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินที่กำหนด
ตอบ : ได้ แต่ไม่เกินที่กำหนด
ตอบ :ไม่ได้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเพียงคนเดียว
ตอบ : สามารถหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าซื้อสินค้าและค่าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 5 สามารถหักลดหย่อนได้ แม้จ่ายให้แก่ผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ : สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่ได้รับอนุมัติให้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ได้ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2568
Cr. https://policywatch.thaipbs.or.th/